การส่งความช่วยเหลือสู่สังคม

1 มีนาคม 2563

การช่วยเหลือสังคมในสถานการ์ณโควิด-19 จากลุ่มธุรกิจ TCP

ในปี  พ.ศ. 2564 กลุ่มธุรกิจ TCP  ให้ความช่วยเหลือสังคมไทยอย่างเต็มที่ ในการจัดหาและบริจาคอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสนับสนุนชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19

___________________________________________________________

 

บริษัท TCPVN ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP บริจาคเงินและเครื่องดื่ม รวมกว่า 1 ล้านบาท บรรเทาวิกฤตโควิด-19 ในเวียดนาม

เมื่อเวียดนามกำลังเผชิญหน้ากับการระบาดของโควิด-19 TCPVN พร้อมจะยืนเคียงข้างในการรับมือกับวิกฤตนี้

ในระดับอาเซียน กลุ่ม TCP เดินหน้าช่วยเหลือสังคมและสนับสนุนรัฐบาลหลายแห่งในภูมิภาคเพื่อรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยล่าสุดบริษัท TCPVN ประเทศเวียดนาม ส่งพลังบริจาคเงินราว 650,000 บาท ช่วยเหลือโรงพยาบาลบัคใหม่ (Bach Mai Hospital) ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ได้บริจาคเงินอีกราว 130,000 บาท พร้อมเครื่องดื่มกระทิงแดง เรดดี้ วอริเออร์ ให้กับหน่วยงานกรรมมาธิการ ปิตุภูมิ VFF ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายโดยรัฐบาลเวียดนาม ในการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19

มร.เหวียน แทงญ์ ฮวน ผู้อำนวยการทั่วไปของ TCPVN กล่าวว่า “เรารับทราบว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับเวียดนาม และบริษัท TCPVN ปรารถนาที่จะยืนเคียงข้างกับประชาชนและโรงพยาบาลทั่วประเทศในการรับมือกับวิกฤตนี้”

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เสริมว่า “เครื่องดื่มให้พลังงานกระทิงแดงให้บริการแก่ผู้บริโภคในเวียดนามมานานกว่า 20 ปี การมีส่วนร่วมของบริษัท TCPVN ในการบริจาคให้กับโรงพยาบาลบัคใหม่และประเทศเวียดนาม เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นในระยะยาวของกลุ่ม TCP ไปยังเวียดนาม เราหวังว่าจะช่วยบรรเทาผลที่ตามมาของการระบาดใหญ่ของโควิด -19 รวมถึงช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสนี้ในเวียดนามและทั่วโลก”

_________________________________________________________________

 

TCP ส่งพลังสู่สังคมทุกมิติให้คนไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน

ด้วยโครงการ “TCP พลังสดชื่นเสริมภูมิ”

14 มิถุนายน 2564

กลุ่มธุรกิจ TCP ตระหนักว่าการสนับสนุนให้คนไทยรับวัคซีนมากที่สุดปัจจัยหลักที่จะทำให้ประเทศก้าวข้ามวิกฤติโควิด- 19 ได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อลดอัตราความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือเสียชีวิต จึงริเริ่มโครงการ “TCP พลังสดชื่นเสริมภูมิ” มอบเครื่องดื่มที่มีวิตามินช่วยเสริมภูมิของกลุ่มธุรกิจ TCP ให้กับผู้ที่เข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ หน่วยฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล

เครื่องดื่มภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP บริการฟรีจากตู้แช่เย็นวันละกว่า 2,000 ขวด เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันพร้อมปลุกพลังความสดชื่นไปกับเครื่องดื่มจากแบรนด์ “ไฮ่!” “แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์” “สปอนเซอร์ โก” นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP ยังสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนรับบริการเครื่องดื่มอย่างปลอดภัย โดยหยิบสินค้าจากตู้แช่เย็นได้โดยตรงเพื่อลดการสัมผัส พร้อมกันนี้ทางพนักงานและทีมงานที่เข้าร่วมกิจกรรมยังปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อพนักงานและประชาชนผู้เข้ารับการบริการ

___________________________________________________________

 

กลุ่มธุรกิจ TCP ส่งต่อพลังใจให้บุคลากรโรงพยาบาลสนาม

ด้วยภารกิจ “TCP พลังใจในทุกคำ” 

29 เมษายน 2564

กลุ่มธุรกิจ TCP เดินหน้าส่งต่อพลังกายและพลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสนาม ด้วยโครงการ “TCP พลังใจในทุกคำ” ส่งเครื่องดื่มกลุ่มธุรกิจและอาหารจากร้านยอดนิยมขนาดกลางและขนาดเล็กที่โดนผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลสนามในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

โครงการ “TCP พลังใจในทุกคำ” ผสานศักยภาพภายในองค์กร โดยมีบริษัทในเครือ คือ บริษัท ไฮ-เกียร์ จำกัด  ผู้เชี่ยวชาญการทำกิจกรรมทางการตลาด รับหน้าที่ส่งมอบอาหาร และเครื่องดื่มในกลุ่มธุรกิจ TCP สร้างความสดชื่นดับกระหายให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

ตั้งแต่ตั้นปี 2564 ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจ TCP จัดหาและบริจาคอุปกรณ์ที่จำเป็นทางการแพทย์ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และสำหรับปีนี้ก็ยังคงให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่โรงพยาบาลสนามราว 10 แห่ง มอบเครื่องเอกซเรย์ บอดีเรย์ เอส เพื่อคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงใช้วินิจฉัยโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ แก่โรงพยาบาลสนาม 3 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี สงขลา และเชียงราย อีกทั้งยังได้บริจาคเงินผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ จำนวน 15 เครื่อง และบริจาคเครื่องใช้จำเป็นอื่นๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิฝ่ามือ น้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

___________________________________________________________

 

TCP ดูแลฮีโร่ที่เสียสละเพื่อผู้อื่น แจกกระทิงแดง-สปอนเซอร์เย็นๆ ให้ดื่มฟรี

21 เมษายน 2564

พร้อมถุงยังชีพแก่ผู้ว่างงาน เพื่อส่งต่อพลังทั้งกาย-ใจ ให้ผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เปรียบเสมือน “ฮีโร่” ซึ่งยังไม่ได้รับการสดุดีในวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เขาเหล่านี้ คือ พนักงานส่งอาหารและพัสดุ เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และผู้มีจิตอาสาทุกคน

คุณศุภชัย จุนเกียรติ ผู้อำนวยการสายงานการตลาดโกลเบิล กลุ่มธุรกิจTCP กล่าวว่า “ช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ เป็นเวลาซึ่งกลุ่มคนที่ทำงานหนักเพื่อให้คนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่สะดุด น่าจะได้รับพลังใจและการดูแล เนื่องจากภารกิจในแต่ละวันหนักหน่วงและอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนจัด อีกทั้งหลายๆ ท่านก็ได้รับผลกระทบจากการปิดตัวชั่วคราวของภาคธุรกิจ ดังนั้น เราจึงขอทำหน้าที่ส่งพลังใจและพลังกายให้พวกเขาสามารถนำพาชีวิตและสังคมให้ผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน” 

กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ทยอยส่งความห่วงใยและปรารถนาดีไปให้ฮีโร่เหล่านี้ ผ่านทางเครื่องดื่มกระทิงแดงและสปอนเซอร์เย็นๆ รวมกว่า 1 ล้านขวด โดยส่งให้ดื่มฟรีในจุดต่างๆ ที่ฮีโร่ของเราไปทำหน้าที่ในทุกๆ วัน และมอบหน้ากากอนามัยทางเลือก ถุงมืออนามัย และถุงยังชีพตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพื่อแทนคำขอบคุณจากใจ

  

__________________________________________________________________

 

กลุ่มธุรกิจ TCP มอบเครื่องเอกซเรย์พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แก่สภากาชาดไทย เพื่อส่งต่อ 3 โรงพยาบาลสนามช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด-19 

15 มีนาคม 2564

กลุ่มธุรกิจ TCP สนับสนุนสภากาชาดไทยมอบเครื่องเอกซเรย์แก่ 3 โรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงใช้วินิจฉัยโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่คิดค้นโดยฝีมือคนไทย จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก บอดีเรย์ เอส จำนวน 2 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก และโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล บอดีเรย์ อาร์ จำนวน 1 เครื่อง มอบแก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร มูลค่าราว 4.3 ล้านบาท

___________________________________________________________

 

กลุ่มธุรกิจ TCP ผนึกสาธารณสุขช่วยพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด ส่งมอบอุปกรณ์จำเป็น ร่วมสกัดการระบาดรอบใหม่

25 มกราคม 2564

กลุ่มธุรกิจ TCP ตระหนักถึงความรุนแรงในการระบาดรอบใหม่ จึงระดมหน่วยงานภายในองค์กรเร่งจัดหาหน้ากาก N95 ชุด PPE และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นกว่า 33,000 ชิ้น พร้อมจัดส่งให้โรงพยาบาลที่เป็นศูนย์กลางของการระบาดและโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นเร่งด่วนใน 8 จังหวัด คือจังหวัดสมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี นครปฐม อ่างทอง สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งการแพร่ระบาดในครั้งนี้  

สำหรับในปี  พ.ศ. 2563 กลุ่มธุรกิจ TCP  ได้อนุมัติงบประมาณกว่า 115 ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือสังคมไทยอย่างเต็มที่ ในการจัดหาและบริจาคอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับบุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด-19

___________________________________________________________

 

 

กลุ่มธุรกิจ TCP บริจาคเงิน 50 ล้านบาท บรรเทาวิกฤติโควิด-19 ในไทย

15 ธันวาคม 2563
ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ด้วยเงินบริจาคและศักยภาพของกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจ TCP ได้สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในรูปแบบของเงินบริจาคและการใช้ศักยภาพของธุรกิจในกลุ่ม โดยวงเงินมูลค่า 50 ล้านบาท นี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาเมื่อการระบาดเริ่มขยายจากต่างประเทศมาที่ไทย 

โดยนำไปจัดซื้อเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติเพื่อตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 เครื่องแรก มูลค่า 15 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพการตรวจหาผู้ติดเชื้อให้รวดเร็ว อีกทั้งยังร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ จัดทำหน้ากากผ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานของบุคลากรณ์ทางการแพทย์ ทำจากผ้า Perma Nano Zinc ใช้ซ้ำได้กว่า 100 ครั้ง รวม100,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท และสนับสนุนการผลิตและจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ ตู้ตรวจโควิด-19 ชุด PPE หน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัย ทั้งหมดดำเนินการจัดส่งไปยังโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วไทยโดยเดอเบล บริษัทขนส่งในกลุ่มธุรกิจ TCP 

___________________________________________________________

 

TCP มอบอีก! ชุด PPE จำนวน 20,000 ชุดและหน้ากาก N95 จำนวน 110,000 ชิ้น แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ

8 ธันวาคม 2563

เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดหนัก และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักเพื่อดูแลประชาชน กลุ่มธุรกิจ TCP จึงได้จัดหาชุด PPE จำนวน 20,000 ชุดและหน้ากาก N95 จำนวน 110,000  ชิ้น เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศได้ป้องกันสุขอนามัยในขณะทำหน้าที่

__________________________________________________________________

 

โครงการ “Restart Thailand ” เดินหน้าช่วยเศรษฐกิจไทย “ยืดเวลาชำระหนี้ร้านค้า – จ้างงานนักศึกษาจบใหม่”

25 มิถุนายน 2563

ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 รุนแรง ธุรกิจไม่สามารถดำเนินได้อย่างราบรื่นหยุดชะงักในบางกิจกรรม ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน คนจำนวนมากต้องตกงาน เด็กจบการศึกษาใหม่หางานไม่ได้

กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นส่วนหนึ่งของการพยุงเศรษฐกิจภาพรวม จัดสรรงบประมาณ 82 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการ “Restart Thailand” ภายใต้การช่วยเหลือใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่

  1. เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการร้านค้า จัดสรรงบประมาณ 48 ล้านบาท ช่วยเหลือร้านค้าที่รับสินค้าจากกลุ่มธุรกิจ TCP ที่ยอดขายลดลงและขาดสภาพคล่องด้วยการ
  • ยืดระยะเวลาให้ร้านค้าชำระสินค้าจากกลุ่มธุรกิจ TCP ได้นานขึ้น
  • จัดกิจกรรมทำโปรโมชั่นช่วยร้านค้า
  • ร้านค้าเข้าร่วมทั้งหมด 37 ร้านค้า
  1. จ้างงานเพิ่ม
  • จัดสรรงบประมาณ 34 ล้านบาท ให้โอกาสนักศึกษาจบใหม่ได้มีงานทำด้วยการจ้างงานเพิ่ม จำนวน 156 อัตราเป็นระยะเวลา 2 ปี
  • ไม่มีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน ไม่ปรับลดเงินเดือนและสวัสดิการใดๆ รวมทั้งมีการจ้างงานอัตราใหม่ๆ เพิ่มอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับผู้บริหาร
  • เดินหน้าเพิ่มความรู้ความสามารถให้พนักงานด้วยการ "อัพสกิล-รีสกิล" เพิ่มศักยภาพให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในสภาวะการแข่งขันของธุรกิจในยุคจากนี้ต่อไป

___________________________________________________________

 

กลุ่มธุรกิจ TCP มอบ "ตู้ส่งต่อพลังปันสุข" ช่วยเหลือชาวบางบอนสู้โควิด-19

11 พฤษภาคม 2563
ท่ามกลางวิกฤตนี้ แต่คนไทยไม่เคยทิ้งกันและยังมีน้ำใจหยิบยื่นให้กันเสมอ กลุ่มธุรกิจ TCP เช่นเดียวกัน ขานรับแนวคิดตู้ปันสุข จัดทำโครงการ “ตู้ส่งต่อพลังปันสุข” ช่วยเหลือประชาชนย่านบางบอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มธุรกิจ TCP สำหนักงานใหญ่ ให้ได้อิ่มท้องและผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบาก จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปด้วยกัน

ตู้ส่งต่อพลังปันสุข อยู่ในรูปลักษณ์ตู้กับข้าวในครัว ที่ถูกยกมาตั้งริมทางพร้อมข้อความเชิญชวน "หยิบไปแต่พอดี ถ้าท่านมีใส่ตู้แบ่งปัน" ภายในตู้จะประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ของ กลุ่มธุรกิจ TCP อาหารแห้ง รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ เพื่อให้ผู้ยากไร้ หรือผู้ที่กำลังประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตได้หยิบไปใช้ ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง โดยตู้ส่งต่อพลังปันสุข จะตั้งอยู่ที่บริเวณป้ายรถเมล์หน้าสำนักงานใหญ่ และหลังตลาดปิ่นทอง  ทั้งหมดจำนวน 2 ตู้ เพราะเราเชื่อว่า การแบ่งปันอาหารใส่ตู้ส่งต่อพลังปันสุข นอกจากจะอิ่มใจ แต่ยังทำให้คนที่มาหยิบไปได้อิ่มท้องอีกด้วย

___________________________________________________________

 

TCP สนับสนุนมูลนิธิชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19

29 เมษายน 2653
ขนส่ง “ตู้ความดันลบสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19” สู่ 16 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

กลุ่มธุรกิจ TCP นำโดยคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจ TCP  เป็นตัวแทนบริษัท เดอเบล จำกัด รับมอบ  “ตู้ความดันลบสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19” พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 23 ตู้  จากดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา  และ รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ อุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  เพื่อกระจายสู่โรงพยาบาล 16 แห่งในประเทศไทย

“ตู้ความดันลบสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19” มีลักษณะเป็นตู้อะคริลิคความดันลบ ใช้สำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงตามมาตรฐานของห้องความดันลบของโรงพยาบาล ช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในการเก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกของผู้ป่วยเพื่อส่งตรวจ ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทางการแพทย์

โดยในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ )” จัดซื้อตู้ดังกล่าว เพื่อมอบความช่วยเหลือแก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ในแนวหน้าในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมี บริษัท เดอเบล จำกัด เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการขนส่ง ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบตู้พระราชทานดังกล่าวได้ภายในเดือนเมษายน 2563 นี้

   

___________________________________________________________

 

 

เตรียมพบกับ 2 แคมเปญเสริมพลังกายและใจให้คนไทยสู้โควิด-19 จากกระทิงแดง-สปอนเซอร์

21 เมษายน 2563
ยกย่องและขอบคุณ ฮีโร่ ผู้ทำงานนอกบ้าน พร้อมชวนคนไทยให้มาออกกำลังกายเพื่อชนะโควิด-19 ร่วมกันทั้งประเทศ

คนไทยไม่เคยทิ้งกัน เหมือนเช่นผลิตภัณฑ์ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP อย่าง เครื่องดื่มกระทิงแดง และสปอนเซอร์ที่อยู่เคียงข้างคนไทย และก้าวผ่านเรื่องราวต่างๆ พร้อมกับสังคมไทยมากว่า 40 ปี กับวิกฤตในครั้งนี้จึงได้ผนึกกำลังสร้างสรรค์แคมเปญส่งต่อพลังให้คนไทยชนะมหันตภัยร้ายไวรัสโควิด-19 นี้

กระทิงแดง ต้นแบบของการทำดีเพื่อสังคมไทยมากว่า 40 ปี พร้อมส่งต่อพลัง บวกพลังใจให้ไปฮีโร่ ผู้กล้า ผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญของสังคมในการต่อสู้กับโควิด-19    โดยตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้มอบเครื่องดื่มกระทิงแดงเพื่อเติมพลังเพิ่มความสดชื่นไปกว่า 1 ล้านขวด และในเดือนเมษายนนี้กำลังทะยอยมอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ทั้งหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield)  ถุงมือ แก่จ้าหน้าที่รักษาความสะอาด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานส่งอาหารและพัสดุ ตำรวจ ซึ่งเป็นฮีโร่ที่เสี่ยงทำงานนอกบ้านเพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขและปลอดภัย และยังเตรียมส่งมอบถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนทั่วประเทศ

เตรียมรับชมวีดีโอ สดุดีความกล้าหาญของฮีโร่นักสู้ที่ไม่เคยถูกลืมได้ใน Facebook https://www.facebook.com/kratingdaeng/ วันที่ 20 เมษายน นี้ อย่าลืมกดไลค์ และแชร์เพื่อให้กำลังใจฮีโร่เหล่านี้

สปอนเซอร์ ชูแคมเปญ “เสียเหงื่อเพื่อเป้าหมาย” ให้ทุกคนก้าวผ่านความท้าทายของโควิด-19 ไปด้วยกัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่

•กิจกรรม “เสียเหงื่อเพื่อชนะ” เตรียมพบกับ มหกรรมการแข่งขันงานบ้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุด Homelypic 2020 ที่ทุกคนจะได้มีเวทีในการประชันทักษะการทำงานบ้านขั้นสูง ถ่ายคลิปเสียเหงื่อเพื่อลุ้นรับของรางวัลพิเศษ
•ร่วมชมคลิปยกย่องผู้ที่เสียสละ “เสียเหงื่อเพื่อชาติ” บุคคลปฏิบัติหน้าที่นอกบ้าน เพื่อให้เราทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกปลอดภัยแม้ยามวิกฤต
•กิจกรรม “เสียเหงื่อเพื่อช่วย” เตรียมพบกับสุดยอดนักฟุตบอลชั้นนำ ที่จะชาเล้นจ์ผู้ที่มีหัวใจรักในกีฬาทุกคน ให้ลุกมาออกกำลังกาย ถ่ายคลิปเสียเหงื่อเมื่ออยู่บ้าน โดยสปอนเซอร์พร้อมเปลี่ยนทุกคลิปการเสียเหงื่อ เป็นเงินบริจาค 10 บาท มอบให้แก่องค์กรการแพทย์ต้านโควิด-19

ร่วมติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Sponsorthailand ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนนี้เป็นต้นไป 

กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล) สปอนเซอร์ เรดดี้ โสมพลัส แมนซั่ม เพียวริคุ และซันสแนค เชื่อเสมอว่าทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาส และเราพร้อมยืนเคียงข้างส่งต่อพลังชัยชนะ ให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านความท้าทายนี้ไปด้วยกัน เหมือนทุกๆครั้งที่ผ่านมา

   

__________________________________________________________________

 

กระทิงแดงส่งพลังบวกให้ฮีโร่สู้โควิด-19 ผ่านแคมเปญ “Unforgotten Hero”

เพราะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เราจะมีฮีโร่ผู้เสียสละอยู่เสมอ เครื่องดื่มกระทิงแดง ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP จึงขอสดุดีฮีโร่ผู้กล้า ด้วยการปล่อยแคมเปญ “Unforgotten Hero” เพื่อขอบคุณฟันเฟืองกลุ่มสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ที่ยังไม่มีใครระบุได้ว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด การที่คนไทยร่วมมือกันลดการแพร่เชื้อด้วยการกักตัวอยู่บ้านและการเว้นระยะห่างทางกายภาพจึงกลายเป็นหลักปฏิบัติของสังคมในปัจจุบัน แต่ในทางกลับกัน กลับมีบุคคลอีกกลุ่มที่ยังต้องออกจากบ้านไปทำงาน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของบ้านเมืองยังคงเดินหน้าต่อไปได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านได้อย่างปกติแม้ในยามวิกฤต

เมื่อฮีโร่ออกปฏิบัติหน้าที่ กระทิงแดงพร้อมออกส่งกำลังใจ

เมื่อเหล่าฮีโร่ไม่ได้หยุดปฎิบัติหน้าที่ กระทิงแดงจึงไม่รั้งรอส่งทีมกิจกรรมพิเศษ (TCP Team) บุกลงพื้นที่เพื่อมอบเครื่องดื่มกระทิงแดง ถุงยังชีพให้กับ 50,000 ครอบครัวที่ขาดแคลน และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ หน้ากากผ้า ถุงมือยาง และ Face Shield 10,000 ชิ้น เพื่อให้ฮีโร่กลุ่มนี้ได้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีกิจกรรม Hero in you แลกกระทิงแดงพ้อยท์ในแอปพลิเคชัน LINE เพื่อแลกเป็นค่าอินเตอร์เน็ต หรือรับหน้ากากผ้าทางเลือก เพื่อบรรเทาความยากลำบากได้อีกส่วนหนึ่งอีกด้วย

และด้วยความกล้าของเหล่าฮีโร่ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสไม่ต่างจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข จึงทำให้กระทิงแดงเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ออกมาเป็นภาพยนตร์สั้น  Unforgotten Hero เพื่อชื่นชมความมุ่งมั่นและการอุทิศตนเพื่อสู้ภัยครั้งนี้

   

__________________________________________________________________

 

เครื่องดื่ม “สปอนเซอร์” ชวนชาวไทย “เสียเหงื่ออย่างมีเป้าหมาย” พิชิตโควิด-19

24 เมษายน 2563
เครื่องดื่มเกลือแร่สปอนเซอร์ โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเติบโตเคียงคู่กับสังคมไทยมากว่า 35 ปี ขอส่งพลังใจให้คนไทยทุกคนสามารถพิชิตความท้าทายจากวิกฤตโควิด-19 พร้อมเชิญชวนชาวไทย “เสียเหงื่อ” พิชิตโควิด-19 ไปด้วยกัน

เริ่มต้นด้ยกิจกรรม “เสียเหงื่อเพื่อชนะ” โดยขอท้าพ่อบ้าน แม่บ้าน ลูกบ้าน ไปจนถึงเพื่อนบ้าน ร่วมชิงความเป็นที่หนึ่งในการแข่งขัน มหกรรมงานบ้านสุดเข้มข้น สปอนเซอร์ โฮมลิมปิค 2020 (Sponsor Homelympics 2020) เปลี่ยนงานบ้านมาเป็นการออกกำลังกายสุดสร้างสรรค์ ผ่าน 6 ประเภทงานบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ไอซ์สเก็ตถูบ้าน ยิมนาสติกสะอาด พายเรือกวาดบ้าน รดน้ำข้ามสิ่งกีดขวาง คาร์แคร์ฟรีสไตล์ ปิดท้ายด้วยงานบ้านประเภทอิสระขอให้เสียเหงื่อเท่านั้น ผู้ชนะจะได้รับ เหรียญ สปอนเซอร์ โฮมลิมปิค 2020 พร้อมทองคำมูลค่า 5,000 บาท 

ต่อด้วย “เสียเหงื่อเพื่อชาติ” ภาพยนตร์สั้นภายใต้แนวคิด เราอยู่บ้านเพื่อชาติ คุณอยู่นอกบ้านเพื่อเราทุกคน ถ่ายทอดภาพการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทของเหล่าผู้เสียสละที่ออกมาทำงานนอกบ้าน เพื่อให้คนไทยสามารถอยู่บ้านได้อย่างปกติสุขและปลอดภัยในช่วงวิกฤตนี้ พร้อมส่งทีมคาราวานสปอนเซอร์ ลงพื้นที่แจกเครื่องดื่มจำนวนกว่า 150,000 ขวด ให้กับโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด่านคัดกรอง และศูนย์ราชการจังหวัดต่างๆ  เพื่อส่งพลังความสดชื่นและกำลังใจให้กับผู้ที่เสียเหงื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันในทุกวัน

กิจกรรมไฮไลท์สุดท้าย “เสียเหงื่อเพื่อช่วย” สำหรับคนไทยใจบุญ โอกาสมาถึงแล้วกับครั้งแรกที่การเสียเหงื่อของคนที่อยู่บ้านจะสามารถช่วยเหลือคนไทยทั้งประเทศได้ โดยทุกคลิปวิดีโอการเสียเหงื่อ สปอนเซอร์จะเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคจำนวน 10 บาท เพื่อร่วมสมทบทุนให้องค์กรเพื่อต่อสู้โควิด-19 

 

__________________________________________________________________

 

 

 

“เดอเบล” จับมือ “โทฟุซัง” สู้ภัยโควิด-19

18 เมษายน 2563

บริษัท เดอเบล จำกัด ร่วมกับโทฟุซัง มอบน้ำเต้าหู้ออร์แกนิก ยูเอชที มูลค่า 3.8 ล้านบาท แก่โรงพยาบาลกว่า 200 แห่ง ทั่วไทย เพื่อส่งต่อพลังให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการต่อสู่กับไวรัสโควิด-19

__________________________________________________________________

 

เดอเบลสู้วิกฤตโควิด-19 ขนส่งอุปกรณ์การแพทย์สู่โรงพยาบาลห่างไกลได้ทั่วถึง

10 เมษายน 2563
คล่องตัวพร้อมเคียงข้างแพทย์พยาบาลและคู่ค้าทั่วไทยแม้ในภาวะฉุกเฉิน

คุณสุรชัย จงเลิศวราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอเบล จำกัด ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “เดอเบล ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของเราในวิกฤตนี้ และเล็งเห็นว่าการช่วยกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้ผลิตให้ถึงมือร้านค้าและผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและตรงเวลา เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องพยายามทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งในการบรรเทาความยากลำบากจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 และหล่อเลี้ยงให้ชีวิตประจำวันและการค้าขายของคู่ค้ายังดำเนินต่อไปให้ได้มากที่สุดโดยไม่เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า” 

โดยได้เสริม 3 มาตรการเข้มในการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าด้วยการจัดทีมงานคู่ขนาน ปฏิบัติหน้าที่สลับหมุนเวียนเพื่อรับผิดชอบงานแทนกันได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน เสริมแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ผนวกกับทีมผู้บริหารสาขาที่เปี่ยมประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น เพิ่มความเด่นของศักยภาพของคลังสาขา ให้สามารถกระจายสินค้าได้รวดเร็วและคล่องตัว และยังสนับสนุนการทำงานต้านโควิด-19 โดยใช้เครือข่ายขนส่งนำส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท ที่กลุ่มธุรกิจ TCP จัดหามาบริจาคแก่โรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ

อ่านข่าวเต็ม

__________________________________________________________________

 

TCP มอบเครื่องตรวจโรคโควิด-19 อัตโนมัติเครื่องแรกของไทยแก่ รพ. จุฬาฯ

1 เมษายน 2563
เครื่องดังกล่าวมีมูลค่า 15 ล้านบาท ใช้เทคนิค Real time PCR จึงตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้วันละ 1,440 ราย และมีความแม่นยำสูงถึง 99.8 % ช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยโรค ลดการปนเปื้อน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และลดโอกาสของการแพร่เชื้อสำหรับคนไทยที่ได้รับการตรวจคัดกรองที่รวดเร็ว

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP มอบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เครื่องแรกของไทย มูลค่า 15 ล้านบาท แก่ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ชั้น 3 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณกลุ่มธุรกิจ TCP ที่มอบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในสภาวะที่เร่งด่วนเช่นนี้ เครื่องตรวจนี้นอกจากจะมาช่วยเสริมความมั่นใจ ลดความเสี่ยงให้บุคลากรทางการแพทย์ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ยังเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกด้วย นั่นคือ ยิ่งเราทราบหรือวินิจฉัยผู้ติดเชื้อได้เร็ว เท่าใดยิ่งดี จะทำให้เกิดการป้องกันได้เร็ว ลดการแพร่เชื้อ ลดการแพร่ระบาดได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ด้วยศักยภาพของเครื่องตรวจนี้ จึงทำให้เราสามารถรับตรวจเชื้อจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้อีกด้วย”

อ่านข่าวเต็ม

__________________________________________________________________

 

TCP มอบหน้ากากทางเลือก 100,000 ชิ้นให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป 

23 มีนาคม 2563
ส่งมอบหน้ากากนวัตกรรมป้องกันเชื้อโรค เพื่อช่วยบรรเทาการขาดแคลนอย่างเร่งด่วนในเบื้องต้น

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังขยายวงกว้าง และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) กลุ่มธุรกิจ TCP จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อพลังในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ด้วยการมอบหน้ากากทางเลือกที่ผลิตโดยเทคโนโลยีพิเศษในการป้องกันเชื้อโรค แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ได้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองอย่างเพียงพอในการปฎิบัติหน้าที่ และแจกจ่ายให้ประชาชนที่ขาดโอกาสการเข้าถึง เพื่อก้าวผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปด้วยกันได้โดยเร็ว”

หน้ากากทางเลือกนี้ ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ฝังลึกลงไปในเส้นใยสิ่งทอด้วยเทคนิคพิเศษของเพอร์มา จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อโรคตลอดอายุการใช้งานและซักได้กว่า 100 ครั้งจากการทดสอบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยได้ส่งมอบให้กับ รพ. จุฬาฯ และ รพ. อื่นๆ ทั้งสิ้นจำนวน 100,000 ชิ้น นอกจากนี้ ยังได้จัดทำหน้ากากสำหรับบุคคลทั่วไปจำนวน 20,000 ชิ้น แจกจ่ายไปตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ

อ่านข่าวเต็ม

__________________________________________________________________

 

TCP สนับสนุนการผลิตและขนส่งตู้ตรวจโควิด-19 นวัตกรรมจาก รพ. จุฬาฯ สู่ รพ. ทั่วประเทศ

19 มีนาคม 2563
นวัตกรรมตู้ตรวจโควิด-19 คิดค้นโดยภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการตรวจคนไข้ได้เป็นอย่างดี

กลุ่มธุรกิจ TCP ยังคงส่งต่อพลังให้บุคลากรทางการแพทย์รับมือกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ล่าสุดได้สนับสนุนการผลิตตู้ตรวจโควิด-19 นวัตกรรมจาก รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมอบหมายให้ทีมเดอเบล บริษัทจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าในกลุ่มธุรกิจ TCP เป็นผู้ช่วยนำส่งตู้ตรวจโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวน 50 ตู้

นวัตกรรมตู้ตรวจโควิด-19 ผลิตจากอะคริลิกใสทรงสี่เหลี่ยม มี Hepa Filter เพื่อทำความดันลบ และกรองฆ่าเชื้อโรคไม่ให้ออกมาภายนอกตู้ คนไข้จะอยู่ในตู้ โดยแพทย์และพยาบาลจะใช้ช่องสอดมือด้านหน้าในการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากช่องคอของคนไข้ เพื่อนำสารไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทำให้ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการตรวจคนไข้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้นวัตกรรมตู้ตรวจโควิด-19 ที่คุณหมอตั้งชื่อว่า Chulavid อยู่ระหว่างการทยอยส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วไทย

   

__________________________________________________________________

 

TCP ดูแลคุณภาพชีวิตแก่ บุคลากร รพ. จุฬาฯ เพื่อช่วยสู้โควิด-19 

17 มีนาคม 2563
เมื่อต้องทำงานหนักเพื่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ทุกๆ รายละเอียดที่โรงพยาบาลสำคัญมาก

ทีมเฉพาะกิจซึ่งกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ตั้งขึ้นเพื่อสื่อสารกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ รพ. จุฬา ได้มองเห็นโอกาสในการดูแลเจ้าหน้าที่ โดยบริจาคอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตให้กับ รพ. จุฬาฯ และ รพ. ศิริราชฯ ดังนี้ 

  • รองเท้าสำหรับห้องผ่าตัดและห้องสะอาด ผลิตภัณฑ์ ANNO จำนวน 100 คู่ มูลค่า 28,000 บาท แก่ รพ. จุฬาฯ 
  • เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว Microlife OXY200 Fingertip Oximeter จำนวน 50 เครื่อง มูลค่า 47,500 บาท แก่ รพ. จุฬาฯ 
  • เครื่องปรับอากาศ “Daikin” จำนวน 1 เครื่อง พร้อมติดตั้ง มูลค่า 29,700 บาท แก่ รพ. จุฬาฯ 
  • Intercom Commax และ Fujitel จำนวน 30 คู่ มูลค่า 42,800 บาท 
  • ชุดกันเชื้อ PPE จำนวน 50 ชุด มูลค่า 35,000 บาท แก่ รพ. จุฬาฯ 
  • ชุดกันเชื้อ PPE จำนวน 50 ชุด มูลค่า 35,000 บาท แก่ รพ. ศิริราชฯ 

__________________________________________________________________

 

TCP ตั้งทีมเฉพาะกิจสื่อสารรายวันกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อส่งความช่วยเหลือตรงจุดและทันท่วงที

28 กุมภาพันธ์ 2563
ส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นและบริการขนส่งเครื่องมือทางการแพทย์แบบอัพเดทรายวัน

ในช่วงเวลาวิกฤติที่ไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างในประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์ล้วนต้องอุทิศตนเพื่อทำงานบรรเทาวิกฤตินี้ และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในหลายๆ มิติ 

กลุ่มธุรกิจ TCP จึงจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับผู้อำนวยการจากหลายหน่วยงานในองค์กร เพื่อทำงานใกล้ชิดกับทีมแพทย์จาก รพ. จุฬาลงกรณ์  สภากาชาดไทยในทุกๆ วัน โดยรับฟังปัญหาภาพรวมของทั้ง รพ.จุฬาฯ และปัญหาจากทั่วภูมิภาคที่ส่งผ่านมาทางหน่วยงานดังกล่าว และช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีในด้านการจัดหาและจัดส่ง รวมทั้งบริจาคอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทางการแพทย์ โดยอาศัยศักยภาพของกลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่และมีธุรกิจขนส่ง-ลอจิสติกส์ทั่วประเทศ

__________________________________________________________________

 

หายไวๆ นะอู่ฮั่น!

31 มกราคม 2563
TCP และพันธมิตรในจีน บริจาคเงิน 54 ล้านบาท ช่วยอู่ฮั่น สู้ภัยไวรัสโควิด-19

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะที่จีนกำลังประสบภาวะวิกฤติไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายเป็นแห่งต้นๆ ของโลก กลุ่มธุรกิจ TCP และพันธมิตรของเราในประเทศจีน ได้ร่วมกันส่งเครื่องดื่มกระทิงแดงไปเติมพลังใจให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเมืองอู่ฮั่น และบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลที่ช่วยเหลืออู่ฮั่นอยู่ อาทิ สภากาชาดจีนสาขาหูเป่ย และองค์กรอื่นๆ ด้วยวงเงินบริจาครวมกว่า 54 ล้านบาท หรือกว่า 11 ล้านหยวน เพื่อส่งต่อพลังใจ ฟื้นฟูให้อู่ฮั่นกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ความผูกพันอันแน่นแฟ้นของกลุ่มธุรกิจ TCP กับประเทศจีนนั้นมีมายาวนาน โดยในปี 1993 กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ขยายตลาด ส่งเครื่องดื่มกระทิงแดงกระป๋องทองไปจำหน่าย และได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภคชาวจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนว่า “หงหนิว” และทะยานขึ้นสู่ตำแหน่งเครื่องดื่มให้พลังงานอันดับ 1 ในจีนอย่างรวดเร็วและตลอดมา

อ่านข่าวเต็ม

 

ข่าวอื่นๆ