ทศวรรษที่ 1

ทศวรรษที่ 2
คุณเฉลียว ได้เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจของตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทย จึงได้คิดค้นพัฒนาสูตรสินค้าประเภทเครื่องดื่มให้พลังงาน โดยนำไปทดสอบให้กลุ่มเป้าหมายได้ชิม จนมั่นใจในรสชาติและคุณภาพของสินค้า จึงผลิตสินค้าออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ ในชื่อ “ทีโอเปล็กซ์-ดีไซรัพ” (100CC) ภายใต้เครื่องหมายการค้า “กระทิงแดงคู่” ทำให้ผู้บริโภคเรียกขานกันติดปากว่า “เครื่องดื่มกระทิงแดง”
จึงทำให้เกิด “เครื่องดื่มกระทิงแดง” (150CC) ขึ้นในเวลาต่อมา และใช้กลยุทธ์แบบถึงลูกถึงคน ผ่านแคมเปญ “กระทิงแดง ซู่ซ่า ซู่ซ่า” ทั้งลด แลก แจกแถม มีกิจกรรมรับแลกฝา (แลกเสื้อกระทิงแดง กระทิงแดงเม็ด สบู่ แฟ๊บ ฯลฯ) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกของประเทศไทย ที่คิดและทำกิจกรรมในรูปแบบนี้ รวมทั้งมีการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ จนทำให้กระทิงแดงเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว


ทศวรรษที่ 3
ต่อมาได้รู้จักกับ นายดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz) นักธุรกิจชาวออสเตรีย ซึ่งเป็นตัวแทนขายสินค้าอุปโภคให้กับบริษัท มีความสนใจนำสินค้า “เรดบูล (Red Bull)” ไปจำหน่ายในตลาดยุโรป จึงได้ร่วมกับคุณเฉลียวในการก่อตั้ง บริษัท เรดบูล จีเอ็มบีเอช (Red Bull GmbH) ขึ้นในประเทศออสเตรีย (คุณเฉลียวและครอบครัวถือหุ้น 51% คุณดีทริช 49%) และวางจำหน่ายกว่า 70 ประเทศทั่วโลกในขณะนั้น
นอกจากนี้ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเกลือแร่พร้อมดื่มภายใต้เครื่องหมายการค้า “สปอนเซอร์” ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของประเทศไทยในยุคนั้นที่ไม่ต้องนำเกลือแร่แบบซองมาผสมน้ำ



ทศวรรษที่ 4
จากนั้นในปี พ.ศ. 2539 คุณเฉลียว มีแนวความคิดในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น จึงได้จัดตั้งบริษัท ทีจีเวนดิ้ง แอนด์ โชว์เคสอินดัสทรีส์ จำกัด โดยนำนวัตกรรมตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติจากประเทศญี่ปุ่นมาติดตั้งตามโรงงานอุตสาหกรรม


ทศวรรษที่ 5
และด้วยตลาดที่เติมโตอย่างต่อเนื่อง จึงได้เห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มโอกาสกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค โดยในปี พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้ง บริษัท เดอเบล จำกัด เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าแบบครบวงจร



ทศวรรษที่ 6

ปัจจุบัน
ในปีเดียวกันนี้ ได้เปิดสำนักงานแห่งแรกในต่างประเทศที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ต่อด้วยสำนักงานที่ประเทศพม่าและจีน นอกจากนี้ยังได้ประกาศกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน “TCP Sustainability” เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทุกที่ที่เราดำเนินธุรกิจ
ในปี 2565 กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ประกาศเป้าหมายใหม่ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” หรือ “Energizing a Better World for All” ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตให้กับองค์กร ควบคู่ไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลุกพลังให้โลกใบนี้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โดยชู 3 กลยุทธ์หลัก ปลุกพลังแบรนด์สินค้า (Fulfilling) ปลุกพลังธุรกิจเติบโต (Growing) และปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านธุรกิจ พร้อมสร้างผลกระทบในทางบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งไทยและต่างประเทศ


